รับปรึกษาศาสนพิธีจีน..
รับจัด เครื่องกระดาษจำลองดอกไม้สด เครื่องเซ่นไหว้ ทำฮวงจุ้ย (แชกี่)...รับสวดพีธีกงเต็ก-ชุดไว้ทุกข์ ของใช้ในพิธีงานขาว-ดำครบวงจร
-----------------------------------------------------------
ติดต่อคุณ..คมสัน อมรกุลสวัสดิ์ (เล่งฮั้ว แซ่เอี๊ยบ)
tel. 081-3935496 kumnuch@hotmail.com
-----------------------------------------------------------
ความหมายของคำว่า “ กงเต็ก”
ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับปี 2493 ให้ความหมายว่า การทำบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชในพระพุทธศาสนา แห่งนิกายจีน และญวณ พิธีกงเต็ก กล่าวกันว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์จิ้น แห่ง ประเทศจีน “คำว่ากงเต๊ก” เป็นคำแปลจากบุญคุณของพระสูตร คือ ทำบุญ และอุทิศให้แก่ผู้ตาย ต่อมาได้ใช้เป็นศัพท์เฉพาะในพิธีศพของสงฆ์ เพราะ ชาวจีนนิยมประกอบพิธีสงฆ์เฉพาะงานศพเท่านั้น
รับจัด เครื่องกระดาษจำลองดอกไม้สด เครื่องเซ่นไหว้ ทำฮวงจุ้ย (แชกี่)...รับสวดพีธีกงเต็ก-ชุดไว้ทุกข์ ของใช้ในพิธีงานขาว-ดำครบวงจร
-----------------------------------------------------------
ติดต่อคุณ..คมสัน อมรกุลสวัสดิ์ (เล่งฮั้ว แซ่เอี๊ยบ)
tel. 081-3935496 kumnuch@hotmail.com
-----------------------------------------------------------
ความหมายของคำว่า “ กงเต็ก”
ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับปี 2493 ให้ความหมายว่า การทำบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชในพระพุทธศาสนา แห่งนิกายจีน และญวณ พิธีกงเต็ก กล่าวกันว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์จิ้น แห่ง ประเทศจีน “คำว่ากงเต๊ก” เป็นคำแปลจากบุญคุณของพระสูตร คือ ทำบุญ และอุทิศให้แก่ผู้ตาย ต่อมาได้ใช้เป็นศัพท์เฉพาะในพิธีศพของสงฆ์ เพราะ ชาวจีนนิยมประกอบพิธีสงฆ์เฉพาะงานศพเท่านั้น
กงเต็กหลวง ย้อนเวลาไปร้อยกว่าปีมาแล้ว ในวังหลวงที่กรุงเทพฯ นี้เอง เริ่มมีพิธีกงเต็กขึ้นโดยพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ 4 ที่จะพระราชทาน สมเด็จ พระเทพศิรินทรามาตย์ (พระราชมารดาแห่งสมเด็จพระปิยะมหาราช) ซึ่งขณะนั้นพระศพประดิษฐานบำเพ็ญพระราชกุศล ณ หอธรรมสังเวช โดย โปรดให้พระนิกายญวนเข้ามาทำพิธี เพราะเวลานั้นพระจีนคงจะยังไม่มี บทบาทเท่าพระญวณ พิธีกงเต็กในครั้งนี้ โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระ บำราบปรปักษ์อำนวยการร่วมกับพระผู้ใหญ่ฝายญวน 2 ท่าน คือ องค์ฮึงกับ องค์กร่าม ครั้งนั้นจึงเป็นปฐมเหตุให้ทรงตั้งพระญวณดำรงค์สมณศักดิ์ ด้วยได้เข้ามาทำหน้าที่ในพระราชพิธีหลวง อันควรได้รับสมณศักดิ์ เช่นเดียว กับพระสงฆ์ไทยในแผ่นดินต่อมา คือ สมัยรัชกาลที่ 5 ก็โปรดให้จัดการ พระราชพิธีกงเต๊กใน พ.ศ. 2423 เพื่ออุทิศพระราชกุศล พระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พระนางเรือล่ม) และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณเพชรัตน์ ซึ่งสิ้นพระชนม์พร้อมกันคราวเกิดอุบัติเหตุเรือล่มระหว่างเสด็จ บางปะอิน โดยตั้งการพระราชพิธี ณ ลานพระมหาปราสาท พิธีกงเต๊กหลวงอีกครั้งที่หลายคนคงเคยเห็นเคยทราบ คือ ครั้งงานพระศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 โดยจัดพิธี ณ ลานใกล้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และในครั้งล่าสุด ก็คือพระราชพิธีกงเต๊ก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยจัดพระราชพิธี ณ ที่พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท .
อ้างอิงจากhttp://cul.hcu.ac.th/kongtak.htm
กงเต็ก :พิธีศพชาวจีนแต้จิ๋ว
พิธีกงเต็กเป็นพิธีที่สำคัญในพิธีศพของชาวจีน แสดงถึงความกตัญญูของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษและสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างครอบครัว ค่านิยมและความเชื่อของชาวจีน ชาวจีนโพ้นทะเลส่วนใหญ่เชื่อว่าการทำพิธีกงเต็กเป็นการแสดงความกตัญญูและตอบแทนบรรพบุรุษของตน เพื่อให้ท่านมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย เช่นเดียวกับตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งจะเห็นได้จากความหมายของขั้นตอนต่างๆในพิธี ถึงแม้ว่าสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในพิธีกงเต็ก แต่พิธีกงเต็กก็ยังคงเป็นการแสดงอัตลักษณ์ของชาวจีนในเรื่องของค่านิยม ความกตัญญูและความผูกพันภายในครอบครัวและสายตระกูล
อ้างอิงจากhttp://www.chulabook.com/
อ้างอิงจากhttp://cul.hcu.ac.th/kongtak.htm
กงเต็ก :พิธีศพชาวจีนแต้จิ๋ว
พิธีกงเต็กเป็นพิธีที่สำคัญในพิธีศพของชาวจีน แสดงถึงความกตัญญูของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษและสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างครอบครัว ค่านิยมและความเชื่อของชาวจีน ชาวจีนโพ้นทะเลส่วนใหญ่เชื่อว่าการทำพิธีกงเต็กเป็นการแสดงความกตัญญูและตอบแทนบรรพบุรุษของตน เพื่อให้ท่านมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย เช่นเดียวกับตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งจะเห็นได้จากความหมายของขั้นตอนต่างๆในพิธี ถึงแม้ว่าสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในพิธีกงเต็ก แต่พิธีกงเต็กก็ยังคงเป็นการแสดงอัตลักษณ์ของชาวจีนในเรื่องของค่านิยม ความกตัญญูและความผูกพันภายในครอบครัวและสายตระกูล
อ้างอิงจากhttp://www.chulabook.com/